อุปกรณ์ช่วยฟังที่สร้างขึ้นสำหรับ iPhone
หากคุณมีอุปกรณ์ช่วยฟัง Made for iPhone (ใช้งานได้กับ iPhone 4s ขึ้นไป) คุณจะสามารถใช้ iPhone เพื่อปรับการตั้งค่าให้เหมาะสมกับการฟังตามที่คุณต้องการ
-
ปรับการตั้งค่าอุปกรณ์ช่วยฟังและดูสถานะ ไปที่ การตั้งค่า > ทั่วไป > การช่วยการเข้าถึง > อุปกรณ์ช่วยฟัง หรือตั้งค่าให้ปุ่มลัดการช่วยการเข้าถึง เปิด ตัวควบคุมอุปกรณ์ช่วยฟัง ดู ปุ่มลัดการช่วยการเข้าถึง
สำหรับการเข้าถึงปุ่มลัดจากหน้าจอล็อก ให้เปิด การตั้งค่า > การช่วยการเข้าถึง > อุปกรณ์ช่วยฟัง > ตัวควบคุมบนหน้าจอล็อก ใช้การตั้งค่าไปที่:
ตรวจสอบสถานะแบตเตอรี่อุปกรณ์ช่วยฟัง
ปรับความดังเสียงของไมโครโฟนรอบ ๆ และการปรับแต่งเสียง
เลือกว่าอุปกรณ์ช่วยฟังส่วนไหน (ซ้าย ขวา หรือทั้งคู่) ที่จะรับการกระจายเสียง
ควบคุมฟังสด
ใช้ iPhone เป็นไมโครโฟนระยะไกล คุณสามารถใช้ ฟังสด เพื่อกระจายเสียงจากไมโครโฟนใน iPhone ไปยังอุปกรณ์ช่วยฟังของคุณ สิ่งนี้สามารถช่วยให้คุณฟังได้ดียิ่งขึ้นในบางสถานการณ์โดนการวางตำแหน่ง iPhone ให้ใกล้มากขึ้นกับต้นกำเนิดของเสียง คลิกสามครั้งที่ปุ่มโฮม เลือก อุปกรณ์ช่วยฟัง จากนั้นแตะ เริ่มฟังสด
กระจายเสียงไปยังอุปกรณ์ช่วยฟังของคุณ กระจายเสียงจากโทรศัพท์, Siri, เพลง, วิดีโอ และอื่น ๆ โดยการเลือกอุปกรณ์ช่วยฟังจากเมนู AirPlay
โหมดช่วยการรับฟัง
iPhone มีโหมดอุปกรณ์ช่วยฟังซึ่งอาจลดการรบกวนกับอุปกรณ์ช่วยฟังบางรุ่นได้เมื่อเปิดใช้งานในโหมดนี้ โหมดอุปกรณ์ช่วยฟังจะลดอัตราการส่งของคลื่นวิทยุสำหรับโทรศัพท์ในระบบ GSM 1900 MHz และอาจส่งผลให้การรองรับระบบ 2G ของโทรศัพท์ลดลง
เปิดใช้งานโหมดอุปกรณ์ช่วยฟัง ไปที่ การตั้งค่า > ทั่วไป > การช่วยการเข้าถึง > อุปกรณ์ช่วยฟัง
ความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ช่วยฟัง
FCC ได้พัฒนาอุปกรณ์ช่วยฟังให้รองรับตามข้อตกลงสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ข้อตกลงเหล่านี้จะใช้บังคับกับโทรศัพท์ที่ผ่านการทดสอบและอยู่ภายใต้การควบคุมของสถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) C63.19-2007 สำหรับมาตรฐานการรองรับอุปกรณ์ช่วยฟัง
มาตรฐาน ANSI สำหรับความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ช่วยฟังประกอบไปการจัดอันดับที่แบ่งเป็นสองประเภทดังนี้
การจัดอันดับในระดับ “M” สำหรับการรบกวนคลื่นความถี่ของวิทยุที่ลดลงเพื่อเปิดใช้งานตัวคู่ต่อทางเสียงกับอุปกรณ์ช่วยฟังที่ไม่ได้ทำงานในโหมดเทเลคอยล์
การจัดอันดับในระดับ “T” สำหรับการเหนี่ยวนำคลื่นวิทยุกับอุปกรณ์ช่วยฟังที่ทำงานในโหมดเทเลคอยล์
การจัดอันดับนี้จะให้คะแนนในรูปแบบของสเกลจากหนึ่งถึงสี่ โดยที่สี่นั้นคือเข้ากับอุปกรณ์ได้มากที่สุด โทรศัพท์ที่การรองรับอุปกรณ์ช่วยฟังตามกฏของ FCC นั้น ถ้าอยู่ในระดับ M3 หรือ M4 สำหรับการเชื่อมต่อแบบอะคูสติก และ T3 หรือ T4 แบบเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็ก
สำหรับการจัดอันดับความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ช่วยฟัง iPhone ให้ดูที่ http://support.apple.com/kb/HT4526?viewlocale=th_TH
ระดับการรองรับของอุปกรณ์ช่วยฟังจะไม่สามารถยืนยันแน่นอนได้ โดยจะขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ช่วยฟังและโทรศัพท์นั้นๆ อุปกรณ์ช่วยฟังบางเครื่องสามารถทำงานได้ดีกับโทรศัพท์ ที่ไม่ได้เป็นไปตามระดับที่ระบุไว้ ในการทำให้แน่ใจเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันระหว่างอุปกรณ์ช่วยฟังและโทรศัพท์ ให้ลองใช้โทรศัพท์พร้อมกับอุปกรณ์ช่วยฟังก่อนที่จะซื้อ
โทรศัพท์เครื่องนี้ได้รับการทดสอบและจัดอันดับสำหรับการใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ช่วยฟังสำหรับเทคโนโลยีไร้สายบางเทคโนโลยีที่ใช้ อย่างไรก็ตาม อาจจะมีเทคโนโลยีไร้สายที่ใหม่กว่าซึ่งใช้ในโทรศัพท์เครื่องนี้ที่ยังไม่ได้รับการทดสอบสำหรับการใช้ร่วมกับอุปกรณ์ช่วยฟัง เป็นสิ่งที่สำคัญมากที่จะต้องลองคุณสมบัติอื่นของโทรศัพท์เครื่องนี้อย่างถี่ถ้วนและลองใช้งานในตำแหน่งที่แตกต่างกัน โดยใช้อุปกรณ์ช่วยฟังหรือประสาทหูเทียม เพื่อตรวจสอบว่าคุณได้ยินเสียงรบกวนใด ๆ หรือไม่ ปรึกษาผู้ให้บริการของคุณหรือ Apple สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับความเข้ากันได้ของอุปกรณ์ช่วยฟัง หากคุณมีข้อข้องใจเกี่ยวกับนโยบายการคืนอุปกรณ์หรือเปลี่ยนอุปกรณ์ ให้ติดต่อผู้ให้บริการหรือตัวแทนจำหน่ายโทรศัพท์ของคุณ